บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อการเรียนการสอน

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เหตุการณ์อุทกภัยและโคลนถล่มในจังหวัดบริเวณภาคเหนือตอนล่าง พ.ศ. 2549 เป็นเหตุการณ์ที่ฝนตกผิดปกติคงที่ในพื้นที่เดิมเป็นเวลาหลายวัน (ประมาณ 1 สัปดาห์) ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 ทำให้ดินบนภูเขาไม่สามารถอุ้มน้ำฝนที่ตกลงมาได้ จึงส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วม และภาวะดินถล่มในช่วงกลางคืนของวันที่ 22 พฤษภาคม ต่อเนื่องถึงเช้ามืดของวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้มากที่สุด ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตเฉพาะในจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดเดียวมากกว่า 75 คน จากจำนวนผู้เสียชีวิตและสูญหายทั้งหมด 116 ราย จาก 5 จังหวัดที่ประสบเหตุการณ์อุทกภัยและโคลนถล่มครั้งนี้
การพยากรณ์และการเกิดเหตุการณ์
ดินถล่มทับหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในหุบเขา ที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศเตือนหลายฉบับเตือนประชาชนในภาคเหนือตอนล่างล่วงหน้า โดยได้พยากรณ์ว่าหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงกำลังปกคลุมภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้อาจทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากได้หลายฉบับในช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ไม่ได้รับความสนใจมากนัก เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนในลักษณะเดียวกันนี้เป็นประจำ ทำให้ประชาชนไม่ค่อยตื่นตัวที่จะรับมือแต่อย่างใด รวมทั้งสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ประสบเหตุตั้งอยู่ในหุบเขาหรืออยู่ในที่ดอนน้ำจากแม่น้ำหลากท่วมไม่ถึงโดยธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นน้ำป่าโคลนถล่มจากภูเขา ทำให้ไม่มีใครเตรียมรับมือและก่อให้เกิดความสูญเสียจำนวนมาก
ก่อนวันเกิดเหตุประมาณ 1 สัปดาห์ ได้มีหย่อมความกดอากาศต่ำ มีฝนตกปรอยๆ สลับกับตกหนักต่อเนื่องมาหลายวัน ทำให้พื้นดินรวมทั้งเชิงเขาในอำเภอลับแลและท่าปลาที่ส่วนใหญ่เป็นดินทรายและมีความลาดชันสูง หมดขีดความสามารถในการอุ้มน้ำ น้ำที่อุ้มไว้อย่างเอียง ๆ เต็มที่แล้วนั้น นอกจากจะทำให้ดินมีน้ำหนักมากขึ้น ยังลดความฝืดของอณูดินเองกับหล่อลื่นรากพืชที่ช่วยกันต้านแรงดึงดูดของโลกไว้ เมื่อมีฝนระลอกใหญ่ตกเพิ่มเติมลงมาทั้งวันทั้งคืนในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 จึงทำให้พื้นที่ที่หมดขีดความสามารถในการอุ้มน้ำ จนบางส่วนพังทลายลงมาในรูปของโคลนถล่มพร้อมกับต้นไม้ไหลทลายทับถมลงมาบ้านเรือนประชาชน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินประชาชนจำนวนมาก โดยเหตุการณ์หายนะภัยได้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงสี่ทุ่มของวันที่ 22 พฤษภาคม โดยมีน้ำป่าและโคลนไหลถล่มบ้านเรือนประชาชนและตัดเส้นทางคมนาคมโดยสิ้นเชิงในหลายพื้นที่ จนฝนได้หยุดตกในช่วงเช้ามืดของวันที่ 23 พฤษภาคม แต่น้ำป่าก็ยังไหลออกจากภูเขาและท่วมขังกินพื้นที่บริเวณกว้างในพื้นที่แม่น้ำน่านฝั่งซ้ายของจังหวัดอุตรดิตถ์ ทำให้อำเภอลับแลและตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ต้องจมน้ำกว่าสองเมตรเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ซึ่งต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูนานนับเดือน และกว่า 3 ปีนับจากนั้น ได้ปรากฏร่องรอยดินถล่มสีแดงตัดกับสีเขียวของต้นไม้บนภูเขาที่ตั้งอยู่ล้อมรอบจังหวัดอุตรดิตถ์ เตือนให้เห็นถึงหายนะภัยครั้งประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุตรดิตถ์
การบรรเทาทุกข์
พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงสำรวจพื้นที่ประสบอุทกภัยในอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
หลังจากเกิดเหตุการณ์หายนะภัยดังกล่าว ได้มีการออกข่าวทางสื่อสารมวลชนทุกแขนงและมีหลายหน่วยงานทั้งจากภาครัฐและเอกชนร่วมให้การบรรเทาทุกข์ ค้นหาผู้สูญหายและฟื้นฟู จากทั่วประเทศ โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้เดินทางมาตรวจการบรรเทาทุกข์และเยี่ยมให้กำลังใจผู้ประสบภัยที่บ้านน้ำต๊ะ-น้ำลี อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ในช่วงแรกหลังเกิดเหตุการณ์[3] และหลังการฟื้นฟูในเบื้องต้นได้มีหลายองค์กรและหน่วยงานได้เข้ามาให้ความฟื้นฟูในหลาย ๆ ด้าน เช่น การย้ายบ้านขึ้นสู่ที่สูง เพื่อป้องกันเหตุการณ์ซ้ำรอยในอนาคต ซึ่งการฟื้นฟูในส่วนนี้พระบรมวงศานุวงศ์ได้ทรงมีส่วนร่วมเป็นอย่างมาก เช่น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารและ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ได้ทรงเป็นประธานในการสร้างบ้านถาวรเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ และเสด็จมาจังหวัดอุตรดิตถ์หลายครั้งเพื่อติดตามความก้าวหน้าและให้กำลังใจผู้ประสบภัย รวมทั้ง พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ได้ดำเนินโครงการฯ และเสด็จมาทรงสร้างบ้านให้แก่ผู้ประสบภัยด้วยพระองค์เองที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เป็นต้น
แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์การสั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปไม่รู้สึก
แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว (focus) มักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล
ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า "จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว" (epicenter) การสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวนี้จะถูกบันทึกด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า ไซสโมกราฟ โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา จะเรียกว่า "วิทยาแผ่นดินไหว" (อังกฤษ: Seismology)
แผ่นดินไหวจากธรรมชาติ
แผ่นดินไหวที่ซานฟรานซิสโกเมื่อ พ.ศ. 2449
ความเสียหายของอาคารจากแผ่นดินไหวที่โกเบ เมื่อ พ.ศ. 2538
แผ่นดินไหวจากธรรมชาติเป็นธรณีพิบัติภัยชนิดหนึ่ง ส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียด ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ภายในชั้นเปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ (ดู การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก) แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยในบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลก ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็นธรณีภาค (lithosphere) เรียกแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกนี้ว่า แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น (interplate earthquake) ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า แผ่นดินไหวภายในแผ่น (intraplate earthquake)

 แผ่นดินไหวจากการกระทำของมนุษย์

มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิด การทำเหมือง สร้างอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนใกล้รอยเลื่อน การทำงานของเครื่องจักรกล การจราจร รวมถึงการเก็บขยะนิวเคลียร์ไว้ใต้ดิน เป็นต้น
  • การสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งอาจพบปัญหาการเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากน้ำหนักของน้ำในเขื่อนกระตุ้นให้เกิดการปลดปล่อยพลังงาน ทำให้สภาวะความเครียดของแรงในบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งทำให้แรงดันของน้ำเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดพลังงานต้านทานที่สะสมตัวในชั้นหิน เรียกแผ่นดินไหวลักษณะนี้ว่า แผ่นดินไหวท้องถิ่น ส่วนมากจะมีศูนย์กลางอยู่ที่ระดับความลึก 5-10 กิโลเมตร ขนาดและความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวจะลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะปกติ รายงานการเกิดแผ่นดินไหวในลักษณะเช่นนี้เคยมีที่ เขื่อนฮูเวอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2488 แต่มีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย เขื่อนการิบา ประเทศซิมบับเว เมื่อ พ.ศ. 2502 เขื่อนครีมัสต้า ประเทศกรีซ เมื่อ พ.ศ. 2506 และครั้งที่มีความรุนแรงครั้งหนึ่งเกิดจากเขื่อนคอยน่า ในประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ. 2508 ซึ่งมีขนาดถึง 6.5 ริกเตอร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 180 คน[1]
  • การทำเหมืองในระดับลึก ซึ่งในการทำเหมืองจะมีการระเบิดหิน ซึ่งอาจทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนขึ้นได้
  • การสูบน้ำใต้ดิน การสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากเกินไป รวมถึงการสูบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้ชั้นหินที่รองรับเกิดการเคลื่อนตัวได้
  • การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนจากการทดลองระเบิด ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดผลกระทบต่อชั้นหินที่อยู่ใต้เปลือกโลกได้

ดูบทความหลักที่ คลื่นไหวสะเทือน
คลื่นแผ่นดินไหว หรือคลื่นไหวสะเทือน (อังกฤษ: seismic waves) ถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
  1. คลื่นในตัวกลาง เป็นคลื่นที่มีลักษณะแผ่กระจายเป็นวงรอบๆจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
    • คลื่นปฐมภูมิ (คลื่น P) คลื่นตามยาว อนุภาคของคลื่นชนิดนี้เคลื่อนที่ในแนวทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถผ่านได้ในตัวกลางทุกสถานะ
    • คลื่นทุติยภูมิ (คลื่น S) คลื่นตามขวาง อนุภาคของคลื่นมีทิศตั้งฉากกับทิศคลื่นเคลื่อนที่ ผ่านได้ในตัวกลางสถานะของแข็ง
  2. คลื่นพื้นผิว เป็นคลื่นที่แผ่จากจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว มี 2 ชนิด
    • คลื่นเลิฟ (Wave of Love : Love wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคสั่นในแนวราบ มีทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น
    • คลื่นเรลีย์ (Wave of Rayleigh : Rayleigh wave) อนุภาคในคลื่นนี้สั่นเป็นรูปรี ในทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น เป็นสาเหตุทำให้พื้นโลกสั่นขึ้นลง

ขนาดและความรุนแรง

ขนาดของแผ่นดินไหว หมายถึง จำนวนหรือปริมาณของพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวในแต่ละครั้ง การหาค่าขนาดของแผ่นดินไหวทำได้โดยวัดความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ด้วยเครื่องตรวดวัดแผ่นดินไหว แล้วคำนวณจากสูตรการหาขนาด ซึ่งคิดค้นโดย ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ และนิยมใช้หน่วยวัดขนาดของแผ่นดินไหวคือ "ริกเตอร์" โดยสูตรการคำนวณมีดังนี้
M = logA - logA_\mathrm{0}\
กำหนดให้
M = ขนาดของแผ่นดินไหว (ริกเตอร์)
A = ความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่สูงที่สุด
A_\mathrm{0}\ = ความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ระดับศูนย์
โดยขนาดของแผ่นดินไหว ในแต่ละระดับจะปล่อยพลังงานมากกว่า 30 เท่าของขนาดก่อนหน้า เช่น 4 กับ 5 ริกเตอร์ แผ่นดินไหวขนาด 5 ริกเตอร์จะปล่อยพลังงานออกมามากกว่า 4 ริกเตอร์ 30 เท่า, แผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์จะปล่อยพลังงานออกมามากกว่า 5 ริกเตอร์ = 30x30 = 900 เท่า เป็นต้น
ความรุนแรงของแผ่นดินไหว (อังกฤษ: Intensity) ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่รู้สึกได้มากน้อยเพียงใด และขึ้นอยู่กับระยะทางจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว ความเสียหายจะเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับศูนย์กลางแผ่นดินไหว และจะลดหลั่นลงไปตามระยะทางที่ห่างออกไป ดังนั้น การสูญเสียจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผ่นดินไหวโดยตรง สำหรับการวัดขนาดของแผ่นดินไหวมีหลายวิธี เช่น มาตราวัดขนาดของแผ่นดินไหวแบบริกเตอร์ และแบบเมอร์แคลลี่
มาตราริกเตอร์
ดูบทความหลักที่ มาตราริกเตอร์
ขนาดและความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลาง

ริกเตอร์ความรุนแรงลักษณะที่ปรากฏ
1 - 2.9เล็กน้อยผู้คนเริ่มรู้สึกถึงการมาของคลื่น มีอาการวิงเวียนเพียงเล็กน้อยในบางคน
3 - 3.9เล็กน้อยผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนมีอะไรมาเขย่าอาคารให้สั่นสะเทือน
4 - 4.9ปานกลางผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึงการ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว
5 - 5.9รุนแรงเครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
6 - 6.9รุนแรงมากอาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
7.0 ขึ้นไปรุนแรงมากมากเกิดการสั่นสะเทือนอย่างมากมาย ส่งผลทำให้อาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เสียหายอย่างรุนแรง แผ่นดินแยก วัตถุบนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น


ริกเตอร์ความรุนแรงลักษณะที่ปรากฏ
1 - 2.9เล็กน้อยผู้คนเริ่มรู้สึกถึงการมาของคลื่น มีอาการวิงเวียนเพียงเล็กน้อยในบางคน
3 - 3.9เล็กน้อยผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนมีอะไรมาเขย่าอาคารให้สั่นสะเทือน
4 - 4.9ปานกลางผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึงการ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว
5 - 5.9รุนแรงเครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
6 - 6.9รุนแรงมากอาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
7.0 ขึ้นไปรุนแรงมากมากเกิดการสั่นสะเทือนอย่างมากมาย ส่งผลทำให้อาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เสียหายอย่างรุนแรง แผ่นดินแยก วัตถุบนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น

น้ำท่วม เป็นการไหลล้นของห้วงน้ำซึ่งทำให้แผ่นดินจมอยู่ใต้น้ำ[1] คำว่า "น้ำเอ่อล้น" (flowing water) ยังอาจใช้กับการไหลเข้าของกระแสน้ำ น้ำท่วมอาจเป็นผลของปริมาตรน้ำภายในแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำหรือทะเลสาบ ซึ่งไหลล้นหรือทลายคันดิน เป็นผลให้น้ำบางส่วนออกจากขอบเขตตามปกติของมัน[2]
ขณะที่ขนาดของทะเลสาบหรือแหล่งน้ำอื่นมีความแตกต่างกันตามการเปลี่ยนแปลงหยาดน้ำฟ้าและการละลายของหิมะตามฤดูกาล แต่น้ำนั้นมิใช่อุทกภัยที่สำคัญเว้นแต่น้ำนั้นออกมาคุกคามพื้นที่ดินที่มนุษย์ใช้ เช่น หมู่บ้าน นครหรือพื้นที่อยู่อาศัยอื่น
น้ำท่วมยังสามารถเกิดในแม่น้ำได้ เมื่อการไหลนั้นเกินความจุของฝั่งน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หัวเลี้ยว (bend) หรือทางน้ำโค้งตวัด (meander) อุทกภัยมักทำความเสียหายแก่บ้านและธุรกิจหากตั้งอยู่ในที่ราบน้ำท่วมถึงตามธรรมชาติ ขณะที่ความเสียหายอันเกิดจากอุทกภัยนั้นแท้จริงแล้วหมดไปได้โดยการย้ายออกจากแม่น้ำหรือแหล่งน้ำอื่น หากตั้งแต่สมัยโบราณ ผู้คนได้อาศัยและทำงานอยู่ริมน้ำเพื่อการยังชีพและได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวและการพาณิชย์ที่ถูกและง่ายโดยอาศัยอยู่ใกล้น้ำ การที่มนุษย์ยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมนั้นเป็นหลักฐานว่า มูลค่าที่สัมผัสได้ของการอาศัยอยู่ใกล้น้ำมีมากเกินมูลค่าของน้ำท่วมที่เกิดซ้ำเป็นเวลา
ยินดีต้อนรับสู่blog ของฉัน รายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน