บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อการเรียนการสอน

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ผู้สื่อข่าวมติชน จ.สุโขทัย รายงานเมื่อวันที่ 13 กันยายน ว่า สถานการณ์น้ำท่วมที่ตลาดเทศบาลเมืองสุโขทัยธานีเริ่มคลี่คลายแล้ว ภายหลังทหารจากกองทัพภาคที่ 3 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ช่วยกันเร่งขนเกเบรียล หรือกล่องหินหนัก 2 ตัน นำไปวางปิดล้อมกระแสน้ำยมตรงบริเวณจุดที่พัง เพื่อชะลอความแรงของน้ำไม่ให้ไหลบ่าเข้าท่วมตัวเมืองเพิ่ม

นายพิเชฐ ไทยกล้า นายกเทศมนตรีเมืองสุโขทัยธานี เปิดเผยว่า ตอนนี้งานคืบหน้าเกือบ 100% แล้วเหลือแค่นำบิ๊กแบ็กหนัก 1.5 ตัน ไปวางอุดจุดที่น้ำพุ่งทะลักขึ้นมาซ้ำอีกครั้ง รวมทั้งจะใช้กระสอบทรายถุงเล็กไปวางอุดตามช่องเกเบรียลที่มีน้ำไหลซึมออกมา เพื่อหยุดการไหลซึมของน้ำอย่างถาวร ตั้งแต่เมื่อคืนเรามีการเร่งสูบน้ำออกตลอดเวลา กระทั่งถึงเช้าวันนี้ก็ยังเดินเครื่องสูบน้ำอยู่ เชื่อว่าภายใน 2 วันนี้น้ำที่ท่วมในเขตเทศบาลทั้งหมด จะลดลงกลับเข้าสู่ภาวะปรกติแน่นอน

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า แม้สถานการณ์น้ำท่วมตัวตลาดเทศบาล จะสามารถควบคุมไว้ได้แล้ว แต่ทว่าพื้นที่อีก 6 ชุมชนที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี นั้นยังคงได้รับผลกระทบหนักต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่ชุมชนวิเชียรจำนงค์ และชุมชนคลองตาเพชร ซึ่งบางจุดพบว่ามีน้ำท่วมสูงถึง 2 เมตร ประชาชนไม่สามารถออกจากบ้านได้ ต้องรอหน่วยงานรัฐนำอาหารเข้าไปให้เท่านั้น ขณะที่ถนนหลายสายในตัวเมืองสุโขทัย ก็ยังมีน้ำท่วมสูง 30-60 เซนติเมตร รถเล็กสัญจรยากลำบาก ส่วนสถานที่ราชการสำคัญหลายแห่ง รวมทั้ง 5 โรงเรียนในเขตเทศบาลยังคงมีน้ำท่วมขัง จึงทำให้ต้องปิดการเรียนการสอนตลอดช่วงสัปดาห์นี้

ด้าน ดร.สมชาย  หาญหิรัญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสอบโรงงาน และสถานประกอบการในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมสุโขทัย พบมีได้รับความเสียหายทั้งหมดรวม 19 แห่ง เป็นเงินไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งภายหลังน้ำลดทางอุตสาหกรรมจังหวัด จะได้ร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย เร่งเข้าไปช่วยซ่อมแซมเครื่องจักรให้ พร้อมจะช่วยประสานแหล่งเงินทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการใหม่ รวมทั้งจะช่วยหาช่องทางการจำหน่ายสินค้า และผลิตภัณฑ์ให้ต่อไปด้วย

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

เร่งรับมือภัยแล้ง4จังหวัด

นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุขรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายธีระ วงศ์สมุทรรมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมการแก้ปัญหาภัยแล้ง ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ซึ่งในที่ประชุมได้มีการสอบถามปัญหาไปยังผู้ว่าฯ พร้อมทั้งเน้นย้ำให้แก้ไขอย่างโดยเร็วหากพื้นที่ไหนประสบปัญหาหนักให้ผู้ว่าฯประกาศเป็นพื้นที่ภัยแล้งเพื่อนำเงินทดรองมาใช้ได้
    
นายปรีชา เปิดเผยภายหลังการประชุม ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาร่วมประชุมเพื่อถามไถ่ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในแต่ละจังหวัด ซึ่งได้รับรายงานว่ามีบางจังหวัด ที่เกษตรกรประสบภัยแล้ง เจอฝนทิ้งช่วง ทำให้ไร่นาเสียหาย ทั้งนี้ รัฐบาลได้เตรียมการในการดูแลเกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้ง โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมการทำฝนหลวง ให้กับประชาชนที่ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง ส่วนกระทรวงมหาดไทย ได้มอบให้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) เข้าไปในการเตรียมการให้ความช่วยเหลือ 

ขณะที่กระทรวงทรัพยากรฯได้มอบให้ กรมทรัพยากรน้ำ จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำเอาไว้เตรียมการในพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลระบบชลประทาน โดยจะนำเครื่องสูบน้ำไปติดตั้งในพื้นที่ใกล้ลำน้ำเพื่อดึงนำจากลำน้ำต่าง ๆ เพื่อนำไปให้ประชาชนในภาคการเกษตร ส่วนกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ เตรียมรถเจาะบ่อบาดาล เพื่อบริการให้กับประชาชนที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำ โดยจะเข้าไปดำเนินการขุดเจาะแหล่งน้ำบาดาลให้ประชาชน อย่างเร่งด่วน ซึ่งขณะนี้ได้เตรียมการส่งรถขุดเจาะบ่อบาดาล ไปประจำการที่ จ.ร้อยเอ็ด จำนวน 100 คัน นอกจากนี้ยังมีเครื่องสูบน้ำอีกประมาณ 300 เครื่อง ไปสำรองเพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    
นายปรีชา กล่าวต่อว่า ในส่วนของภาคใต้ได้เตรียมการให้ความช่วยเหลือใน จ.นครศรีธรรมราช และ จ.พัทลุง ทางกระทรวงทรัพยากรฯ ได้จัดส่งรถผลิตน้ำดื่ม หรือรถโมบายผลิตน้ำลงไปช่วยเหลือประชาชน นอกจากนี้สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8 และ ภาค10 ได้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำไปส่งให้กับทางผู้ว่าฯ ทั้งสองจังหวัด เพื่อเข้าไปดึงน้ำจากล้ำน้ำต่างๆเพื่อนำไปใช้ในการเกษตร เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้งในขณะนี้

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งรวมแล้วมีทั้งหมดกี่จังหวัด นายปรีชากล่าวว่า พื้นที่ที่ได้รับรายงานมานั้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 4 จังหวัด จ. ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ ภาคใต้ มี 2 จังหวัด ส่วนพื้นที่อื่น16 จังหวัดที่ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงนั้น แต่ในระยะหลังฝนได้ตกลงมาแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าฯ ทั้ง16 จังหวัด ได้ติดตามข่าวสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกรมอุตุนิยมวิทยา ว่า ฝนจะตกเมื่อไหร่ จะทิ้งช่วงเมื่อไหร่ ซึ่งได้เตรียมความพร้อมที่แก้ไขปัญหาให้กับประชาชนอยู่แล้ว

ทั่วโลกวิปริต น้ำท่วมใหญ่ ร้อนจัด อนาคตไทยจะเจอภัยพิบัติแบบไหน?


ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภัยแล้ง ไฟป่า การกัดเซาะชายฝั่ง สภาพอากาศแปรปรวน นับวันยิ่งมีความถี่ และรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศต่างรับรู้ได้ สร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่ทรัพย์สิน และคร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนตัวเลขน่าใจหาย
อย่างเมื่อไม่กี่วันมานี้ หลายพื้นที่ของโลกต้องเผชิญกับเหตุการณ์สลดใจไล่เลี่ยกัน โดยรัสเซียประชาชนต้องสังเวยราว 150 ศพ จากน้ำท่วมฉับพลันในเขตภูมิภาคกราสโนดาร์ ริมฝั่งทะเลดำ ทางตอนใต้ของประเทศ หลังฝนตกหนักวัดปริมาณน้ำฝนได้กว่า 28 ซม. บ้านถูกน้ำท่วม 5,000 หลังคาเรือน ซึ่งพื้นที่รอบเมืองคริมส์ได้รับความเสียหายมากที่สุด พบศพผู้เสียชีวิตถึง 134 ศพ ทั้งนี้ เมืองคริมส์อยู่ห่าง 200 กม.ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองโซชิ สถานที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 (พ.ศ.2557) แม้น้ำท่วมฉับพลันจะเกิดขึ้นบ่อยสำหรับเมืองต่าง ๆ ที่ตั้งริมชายฝั่งทะเลดำในช่วงฤดูมรสุม เนื่องจากมีน้ำไหลบ่าลงมาจากเขา แต่ปีนี้ทางการไม่คาดคิดว่าจะรุนแรงขนาดนี้
อีกด้านหนึ่ง ที่เมืองกุวาฮาตี รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย มีผู้เสียชีวิตกว่า 120 ศพ จากน้ำท่วมหนัก เพราะพายุมรสุมพัดกระหน่ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระแสน้ำเอ่อล้นท่วมสองฝั่งแม่น้ำพรหมบุตร และยังไหลบ่าเข้าท่วมรัฐใกล้เคียง อย่าง อรุณาจัลประเทศ มณีปุระ และเมฆาลัย ประชาชนราว 6 ล้านคนไร้ที่อยู่
ขณะที่ สหรัฐอเมริกา หลายเมืองต้องเผชิญกับอากาศร้อนจัด อย่าง วอชิงตัน ดี.ซี. 40.5 องศาเซลเซียส และบัลติมอร์ 39 องศาเซลเซียส ประชาชนต้องหลบร้อนด้วยการดื่มน้ำปริมาณมาก เข้าโรงภาพยนตร์ รวมถึงนั่งรถไฟใต้ดินเล่น เพราะมีเครื่องปรับอากาศช่วยคลายร้อน ขณะเดียวกัน มีรายงานผู้เสียชีวิตถึง 30 ศพ โดยที่รัฐแมริแลนด์ 9 ศพ เมืองชิคาโก 10 ศพ รัฐโอไฮโอ 3 ศพ รัฐวิสคอนซิน 3 ศพ รัฐเทนเนสซี 2 ศพ และรัฐเพนซิลวาเนีย 3 ศพ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยซึ่งหัวใจวาย
ด้าน ประเทศไทย ข้อมูลของเว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา เผยถึง กรณีเฝ้าติดตามสถานการณ์ปรากฏการณ์เอลนีโญ และลานีญา ซึ่งจากการวิเคราะห์รูปแบบต่าง ๆ ทั้งในระบบบรรยากาศ และในมหาสมุทรที่เกิดขึ้นล่าสุด ได้คาดหมายว่า จะมีการพัฒนาไปเป็นปรากฏการณ์เอลนีโญในช่วงเดือนกรกฏาคมถึงกันยายน โดยสภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นยังไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย สำหรับสภาวะฝนในช่วงฤดูฝนนี้ ขึ้นอยู่กับตัวแปรอื่น ๆ ของฤดูกาล สำหรับปรากฏการณ์ลานีญา จะทำให้น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกแถบเส้นศูนย์สูตรเย็นผิดปกติ ก่อให้เกิดฝนตกหนัก ส่วนปรากฏการณ์เอลนีโญ จะทำให้น้ำในแถบดังกล่าวของแปซิฟิกร้อนผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะแห้งแล้ง
“ส่วนการคาดหมายลักษณะอากาศเดือนกรกฎาคมอยู่ในช่วงกลางฤดูฝน ในช่วงครึ่งแรกของเดือนร่องความกดอากาศต่ำจะพาดผ่านประเทศจีนตอนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อน ทำให้ปริมาณ และการกระจายของฝนบริเวณประเทศไทยลดลงระยะหนึ่ง และคาดว่าในช่วงครึ่งหลังของเดือนร่องความกดอากาศต่ำจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น
สำหรับพายุหมุนเขตร้อน (ดีเปรสชั่น โซนร้อน และไต้ฝุ่น) คาดว่า จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าประเทศไทย 1-2 ลูก โดยมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนช่วงเดือนสิงหาคม/กันยายน และ/หรือ ภาคใต้ช่วงเดือนตุลาคม/พฤศจิกายน” ซึ่งก็เป็นสัญญาณที่ดีว่าปี 2555 นี้ปริมาณน้ำจะไม่มากถึงขั้นท่วมใหญ่
มาถึงวันนี้ต้องยอมรับว่าภาวะอากาศโลกป่วน คงไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับทุกคนอีกต่อไป โดยประเด็นที่ถูกหยิบยกถึงกันมาก สำหรับสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติเหล่านี้ เนื่องมาจาก “โลกร้อนมากขึ้นจากการกระทำของมนุษย์” เมื่อธรรมชาติเปลี่ยนแปลง สรรพสิ่งบนโลกย่อมได้รับผลกระทบเป็นลูกโซ่มากน้อยต่างกันไป จึงเป็นเรื่องที่มนุษย์ต้องให้ความสำคัญ ร่วมกันหาทางบรรเทา และปรับตัวรับมืออย่างมีวินัย.
ทีมเดลินิวส์ออนไลน์

เผย 15 รอยเลื่อนมีพลังในไทย ที่อาจทำให้เกิดแผ่นดินไหว

นช่วงเดือนเมษายนนี้ มีข่าวภัยพิบัติเกี่ยวกับแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะแผ่นดินไหวที่เกิดในจังหวัดภูเก็ต ที่เกิดอาฟเตอร์ช็อกอยู่หลายครั้ง และถึงแม้ว่าแผ่นดินไหวดังกล่าวจะไม่รุนแรง คือมีขนาดไม่เกิน 6 ริกเตอร์ ไม่ได้สร้างความเสียหายแก่ชีวิต หรือเกิดสึนามิ แต่ข่าวแผ่นดินไหวก็สร้างความสนใจของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหวแล้ว จะเกิดสึนามิตามมาหรือไม่ เขื่อนจะพังหรือไม่ และในประเทศไทยจะมีที่ไหนเกิดแผ่นดินไหวอีก

          อย่างไรก็ตาม แหล่งกำเนิดของแผ่นดินไหวนั้นมาจากรอยเลื่อนที่มีพลัง ซึ่งรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย เคยเกิดขึ้นแล้ว 9 แห่งด้วยกัน และจากการรายงานของกรมทรัพยากรธรณีวิทยา ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลกลุ่มรอยเลื่อนล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่มีพลังทั้งหมด 14 รอยเลื่อน  โดยกระจายอยู่ใน 22 จังหวัด  ได้แก่

          1. รอยเลื่อนแม่จัน พาดผ่านอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 101 กิโลเมตร

          2. รอยเลื่อนแม่อิง พาดผ่านอำเภอเทิง อำเภอขุนตาล และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย  ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 57 กิโลเมตร       

          3. รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่านอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 29 กิโลเมตร

          4. รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ พาดผ่านตั้งต้นจากลำน้ำเมย ชายแดนพม่า ต่อไปยังห้วยแม่ท้อ ลำน้ำปิง จังหวัดตาก ไปถึงจังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ และสิ้นสุดที่จังหวัดอุทัยธานี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 250 กิโลเมตร             

          5. รอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวโค้งไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร          

          6. รอยเลื่อนเถิน พาดผ่านอำเภอแม่พริก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ในแนวโค้งในไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 103 กิโลเมตร

          7. รอยเลื่อนพะเยา พาดผ่านอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ทางด้านทิศเหนือของรอยเลื่อนท่าสี มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร

          8. รอยเลื่อนปัว พาดผ่านพื้นที่อำเภอสันติสุข อำเภอท่าวังผา อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง และอำเภอทุ่งช้าง ของจังหวัดน่านในแนวเหนือ-ใต้  ด้วยความยาวประมาณ  130 กิโลเมตร    

          9. รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ  150 กิโลเมตร

          10. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร

          11. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พาดผ่านอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร

          12. รอยเลื่อนเพชรบูรณ์ พาดผ่านอำเภอหนองไผ่ อำเภอเมือง อำเภอหล่มสัก และอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 110 กิโลเมตร

          13. รอยเลื่อนระนอง พาดผ่านพื้นที่ตั้งแต่ จังหวัดระนอง ชุมพร ประจวบ คีรีขันธ์ และพังงา  มีความยาวประมาณ 270 กิโลเมตร      

          14. รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย พาดผ่านอำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอทับปุด อำเภอเมือง จังหวัดพังงา พาดผ่านไปตามทะเลอันดามัน ระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กับอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 148 กิโลเมตร

          นอกจาก 14 รอยเลื่อนที่กรมทัพยากรธรณีได้ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว สำนักข่าวบางแห่งยังเผยว่า รอยเลื่อนมะยม ก็เป็นอีกหนึ่งรอยเลื่อนที่มีพลัง โดยรอยเลื่อนดังกล่าว จะพาดผ่านอำเภอสอง จังหวัดแพร่ และอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 22 กิโลเมตร ดังนั้น ทุกภาคส่วนจึงควรติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของทั้ง 15 รอยเลื่อนดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

          อย่างไรก็ตาม รอยเลื่อนที่ต้องจับตา และเฝ้าระวังมากที่สุดในขณะนี้ คือ รอยเลื่อนระนอง และรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ซึ่งถือเป็นรอยเลื่อนที่มีพลังรุนแรง และอาจส่งผลกระทบกับภาคใต้ในหลายจังหวัด อาทิ จังหวัดชุมพร ระนอง และสุราษฎร์ธานี    
เผย 15 รอยเลื่อนมีพลังในไทย ที่อาจทำให้เกิดแผ่นดินไหว

  • อบต.แม่สลองใน อพยพบ้านชาวเขาหนีรอยแยกแผ่นดิน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ [ 2007-07-05 | 16:42 น. ]
เชียงราย -นายก อบต.แม่สลองใน พร้อม จนท. กรมทรัพยากรธรณี จ.เชียงราย เข้าตรวจสอบความปลอดภัยที่หมู่บ้านห้วยหยวกป่าโซ หลังพบรอยแยกพื้นดิน ปรากฏตัวอยู่ที่สนามเด็กเล่น ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน จึงได้กันชาวเขาใกล้เคียง จุดเกิดรอยแยกแผ่นดิน ออกไปสร้างที่พักอาศัย ที่มีการกันไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดการยุบ หรือทรุดตัวพร้อมเฝ้าระวังใกล้ชิด
นางรุจิรา ใจจักร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เปิดเผยว่าวันนี้ (5ก.ค.) ได้นำคณะช่างสำรวจของ อบต. ร่วมกับ เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จ.เชียงราย เจ้าหน้าที่ กรมทรัพยากรธรณี เข้าตรวจสอบความปลอดภัยที่หมู่บ้านห้วยหยวกป่าโซ หมู่ที่ 9 ต.แม่สลองใน พื้นที่โครงการพระราชดำริ
หลังตรวจสอบพบรอยแยกพื้นดินปรากฏตัวอยู่ที่สนามเด็กเล่น ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน มีขนาดความลึก 3 เมตร และแตกเป็นรอยยาวกว่า 100 เมตร เจ้าหน้าที่ กรมทรัพยากรธรณี ได้เข้าตรวจสอบสภาพพื้นดินบริเวณดังกล่าว พบว่า เป็นชั้นดิน ผสมหินทราย มีลักษณะสีขาว ไม่แข็งแรงทาง อบต. จึงได้กันประชาชนชาวไทยภูเขา เผ่าอาข่า ที่มีบ้านเรือนตั้งอยู่ใกล้เคียงจุดเกิดรอยแยกแผ่นดินจำนวน 7 หลังคาเรือน ออกไปสร้างที่พักอาศัยใหม่ในที่ดินชุมชน ที่มีการกันไว้ก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดการยุบ หรือทรุดตัวของแผ่นดินบริเวณดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าจะมีการขยายตัวออกไปอีก จึงได้สั่งเฝ้าระวังและดูสภาพอากาศ ประกอบด้วยหากมีปริมาณฝนตกลงมาในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดพื้นดิน บริเวณดังกล่าว อุ้มน้ำไว้มาก และอาจทรุดตัวและขยายรอยแยกออกไป จนอาจทำให้ แนวที่ตั้งบ้านเรือนชาวเขา ได้รับผลกระทบได้จึงต้องเฝ้าตรวจสอบอย่างใกล้ชิด แม้จะมีการอพยพชาวบ้านออกไปแล้ว 7 หลังก็ตาม
นางรุจิรา กล่าวว่า จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าหมู่บ้านห้วยหยวกป่าโซ เป็นหมู่บ้าน ชาวไทยภูเขาอีกแห่งบนยอดดอยชายแดนไทย-พม่า ของตำบลแม่สลองใน ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ น้ำป่าไหลหลากและดินภูเขาถล่ม จนมีแม่ลูก เสียชีวิตพร้อมกัน 2 ศพ ซึ่งภัยธรรมชาติ ทั้งสองเกิดขึ้นเป็นประจำยากแก่ การคาดการณ์ล่วงหน้า ส่งผลต่อเนื่องมาจนถึงเรื่อง การเกิดรอยแยก บนแผ่นดิน ขึ้นมาอีก โดยปัจจัยทั้งหมดนี้ อบต.จึงนิ่งเฉยไม่ได้ เพราะว่าเป็นภัยธรรมชาติใกล้ตัว ที่หากไม่ตรวจสอบและเฝ้าระวัง จะมีผลเสียหายต่อทรัพย์สิน และชีวิตประชาชนบนดอยได้ในวงกว้าง
นายก อบต.แม่สลองใน กล่าวอีกว่าในระยะนี้ยังมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง มีความ เสี่ยงสูงที่บนดอย ต.แม่สลองใน จะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ ระลอกใหม่ ได้แจ้งเตือนประชาชนผู้นำหมู่บ้าน ตรวจสอบหาความเปลี่ยนแปลง ในหมู่บ้านตลอดเวลา หากพบความผิดปกติทุกอย่าง ให้รีบแจ้งมาที่ อบต. หรือส่งสัญญาณเตือนภัยจากเครื่องไซเรนที่ อบต. ได้นำไปติดตั้งไว้กว่า 20 จุด ในตำบล จะได้เข้าไปอพยพ หรือช่วยเหลือในทุกกรณี ที่เกิดเหตุภัยธรรมชาติ ขึ้นมาได้อย่างทันท่วงที
ทางด้าน นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เชียงราย กล่าวว่า กรณีรอยแยกที่เกิดขึ้นบนดอย ต.แม่สลองใน เชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติ ของชั้นดินบริเวณดังกล่าวมากกว่า จะเกิดขึ้นโดยรอยเลื่อนใต้พิภพจากเหตุ แผ่นดินไหว เนื่องจากพื้นที่ ต.แม่สลองในไม่มีแนวรอยเลื่อนพาดผ่าน แต่มีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาสูง มีเหตุภัยธรรมชาติน้ำป่าไหลหลากบ่อย อาจเป็นไปได้ว่า จะเกิดจากปริมาณน้ำฝนสั่งสมใต้พื้นดินจนเกิดรอยแยกขึ้นมา

ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


1. พายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclones)
2. แผ่นดินไหว (Earthquakes)
3. อุทกภัย (Floods)
4. พายุฟ้าคะนองหรือพายุฤดูร้อน (Thunderstorms)
5. แผ่นดินถล่ม (Land Slides)
6. คลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm Surges)
7. ไฟป่า (Fires)
8. ฝนแล้ง (Droughts)

หมุ่ยฟ้า ถล่มจีน


พายุโซนร้อนหมุ่ยฟ้าที่ถล่มจีน
 
     (8 ส.ค.) สำนักข่าวต่างประเทศได้ประมวลภาพความเสียหายจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนหมุ่ยฟ้า ที่พัดเข้าถล่มบริเวณทะเลเหลือง ระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่และคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งได้สร้างความเสียหายและมีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งแล้ว โดยพายุโซนร้อนหมุ่ยฟ้าที่เพิ่งอ่อนกำลังจากซูเปอร์ไต้ฝุ่นและพายุ ไต้ฝุ่นตามลำดับ เมื่อเข้าสู่ทะเลเหลือง แม้ว่าพายุลูกดังกล่าวจะยังไม่ขึ้นชายฝั่งแต่อิทธิพลของพายุก็สร้างความเสีย หายไปทั่วพื้นที่ดังกล่าง โดยเฉพาะหลายเมืองในมณฑลซานตง มณฑลเจียงซู รวมทั้งเมืองใหญ่อย่างเซี่ยงไฮ้ และกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน
 ข่าวภัยธรรมชาติทั่วโลกในปี 2011