บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อการเรียนการสอน

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

ยัน! แก๊สมีเธนทำแม่น้ำชีร้อน ชาวบ้านหวั่นภูเขาไฟ


5 มิ.ย. - นักวิชาการยืนยันปรากฏการณ์น้ำในแม่น้ำชีร้อนจนต้มไข่สุก ไม่ใช่เกิดจากรอยเลื่อนของผิวโลก แต่เพราะก๊าซชีวภาพที่เกิดจากการหมักหมมของสิ่งมีชีวิตใต้ลำน้ำ
นายเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวถึงกรณีการเกิดปรากฏการณ์น้ำในแม่น้ำชี บริเวณบ้านพลวงคุ้มโคกช้าง ต.คอโค อ.เมือง จ.สุรินทร์ มีอุณหภูมิน้ำสูงขึ้นจนสามารถต้มไข่ และชาวบ้านเกรงว่าเกิดจากภูเขาไฟว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวไม่ใช่พุน้ำร้อนที่เกิดจากรอยเลื่อนของผิวโลกที่มีพลัง หรือมาจากภูเขาไฟอย่างแน่นอน แม้ว่าในอดีต จ.สุรินทร์ จะมีภูเขาไฟชื่อพนมสวาย แต่เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทไม่มีพลังงานมา 2-3 ล้านปีแล้ว
นายเลิศสิน กล่าวอีกว่า สาเหตุความร้อนที่เกิดขึ้นเกิดจากตะกอนในท้องน้ำมีแก๊สชีวภาพ ซึ่งมาจากการหมักหมมของซากพืชซากสัตว์อยู่มาก เมื่อมีสภาวะที่ขาดออกซิเจน ซากพืชซากสัตว์จะแปรสภาพเป็นก๊าซมีเทน และโดยปกติแก๊สเหล่านี้จะถูกปิดทับด้วยชั้นทรายของลำน้ำชี แต่ปัจจุบันระดับน้ำชีลดลงไม่ถึง 1 เมตร ทำให้ชั้นทรายที่เคยปิดทับพวกนี้ไว้ถูกพัดพาออกไปทำให้แก๊สสามารถผุดขึ้นมาได้ และกระบวนการนี้เป็นกระบวนการทางเคมี เป็นปฏิกิริยาคายความร้อน จึงทำให้ดินทรายรวมทั้งน้ำที่อยู่ในบริเวณนั้นร้อน แต่หากมีระดับน้ำเพิ่มจะคลายความร้อนลง โดยปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น อาจจะ 1-2 วัน อย่างไรก็ตาม ทางกรมได้ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง - สำนักข่าวไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น